ข้อมูลพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลโป่ง
1. สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้งของที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโป่ง
ตั้งอยู่ติดถนนสายเลย - หล่มสัก หมู่ที่ 1 ตำบลโป่ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ระยะห่างจากอำเภอถึงเขตพื้นที่ตำบลโป่ง ประมาณ 9 กิโลเมตร และห่างจาก ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งประมาณ 15 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อตำบลด่านซ้ายและตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ทิศใต้ ติดต่อตำบลนาซำ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
1.2 เนื้อที่เขตปกครองตำบลโป่ง
อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร
1.3 ภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของตำบลเป็นที่ราบสูงเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนร้อยละ 80 ระดับความสูงเฉลี่ย 700 เมตรจากระดับทะเล จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็น พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบลุ่มร้อยละ 20 การใช้ที่ดินของประชากรส่วนมากอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติร้อยละ 80
1.4 ภูมิอากาศ
อุณหภูมิของตำบลโป่ง มีฝนตกชุกสลับแห้งแล้ง โดยมีลักษณะของแต่ละฤดูเด่นชัดดังนี้
- ฤดูร้อน อากาศจะร้อนจัด เริ่มตั้งแต่ มีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี
- ฤดูฝน ฝนจะตกชุกปานกลาง เริ่มตั้งแต่ พฤษภาคม - ตุลาคม
- ฤดูหนาว อากาศจะหนาวจัด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
อุณหภูมิของตำบลโป่ง จะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 34- 38 องศา เซลเซียสและต่ำสุดในเดือนมกราคม โดยเฉลี่ย 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับ 25 องศาเซลเซียส
1.5 ภาษา
ประชาชนในเขตตำบลโป่งมีภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นคือ ภาษาเลย และมีประเพณีวัฒนธรรมเหมือนกับชาวอีสานทั่วไป เช่น มีงานบุญมหาชาติ บุญข้าวประดับดิน บุญบั้งไฟ และประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ การนับถือศาสนาประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ
1.6 ด้านกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ รองลงมา สปก.4-01 และ นส.3 พื้นที่ถือครองของตำบลโป่งที่สำคัญ ได้แก่
- พื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 37,500 ไร่
- พื้นที่ป่าประมาณ 37,500 ไร่
- พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยประมาณ 18,750 ไร่
1.7 ด้านการใช้ประโยชน์จากน้ำใต้ดิน
มีการนำน้ำขึ้นมาใช้น้อยมากส่วนมากจะใช้น้ำจากลำห้วยมาใช้ ทั้งที่น้ำใต้ดินมีปริมาณเพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อการบริโภค
1.8 ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สืบเนื่องจากลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชากรในตำบล ค่อนข้างกระจายตามแนวทางเส้นทางคมนาคมสายหลักต่างๆ เช่น จากสภาพดังกล่าวจึงทำให้เกิดปัญหาทางด้านการบริการสาธารณะซึ่งไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง และสิ้นเปลืองงบประมาณในการลงทุน -2- 1.9 ด้านการคมนาคมขนส่ง ปัจจุบันตำบลโป่ง ยังขาดโครงข่ายถนนเชื่อมคมนาคมระหว่างตำบลต่อตำบล และระหว่างหมู่บ้านต่างๆ ภายในตำบลเข้าด้วยกันอย่างทั่วถึง ทำให้การคมนาคมระหว่างชุมชนไม่สัมพันธ์กันเป็นระบบที่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการติดต่อ และการให้บริการต่างๆนอกจากนี้สภาพผิวจราจรที่ชำรุด ยังเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรไปมา และถนนยังมีเขตทางที่แคบทำให้เป็นปัญหาต่อการขยายเขตในอนาคต
1.10 จำนวนหมู่บ้าน
รวม 11 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโป่ง ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านโป่ง
หมู่ที่ 2 บ้านด่านดู่
หมู่ที่ 3 บ้านน้ำพุง
หมู่ที่ 4 บ้านกกจำปา
หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเทิง
หมู่ที่ 6 บ้านวังกุ่ม
หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งน้ำใส
หมู่ที่ 8 บ้านปางคอม
หมู่ที่ 9 บ้านโป่งชี
หมู่ที่ 10 บ้านกกกระบาก
หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งเทิง
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 90
อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 5
อาชีพค้าขาย และรับราชการร้อยละ 5
2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ปั๊มน้ำมัน จำนวน 4 เเห่ง
โรงสีขนาดเล็ก จำนวน 10 แห่ง
ปั้มน้ำมัน(เล็ก) จำนวน 11 แห่ง
3. สภาพสังคม
3.1 การศึกษา
โรงเรียนการศึกษา 8 แห่ง
โรงเรียนมัธยม(ขยายโอกาส) 3 แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 11 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 7 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด 9 แห่ง
สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
ศาลเจ้า 12 แห่ง 3.3 สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 98
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ศูนย์บริการประชาชน สภ.ด่านซ้าย (โป่งชี) 1 แห่ง
4. การบริหารพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
ถนนสายหลักติดต่อกับอำเภอลาดยางแล้วร้อยละ 100
ถนนภายในหมู่บ้านลาดยางแล้วร้อยละ 60
4.2 การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์ประจำตำบล 1 แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ 14 แห่ง
4.3 การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
1. ห้วยน้ำพุง จุดเริ่มต้นที่หมู่ 9 ไหลผ่านหมู่ 1,4,6,3,10,2
2. ห้วยก๊วก
3. ห้วยซะงั่ว
4. ห้วยหม้อ
5. ห้วยซะนาแป
6. ห้วยทุ่งเทิง
7. ห้วยน้ำมี
8. ห้วยลาด
9. ห้วยหน้อง
10. ห้วยช้างบุ
11. ห้วยทุ่ง ไหลผ่านหมู่ 7 ลงห้วยน้ำพุง
12. ห้วยหมู ไหลลงห้วยทุ่ง
13. ห้วยแงด ไหลผ่านหมู่ 8 ลงสู่ห้วยน้ำพุงที่หมู่ 10
14. ห้วยแลน ไหลผ่านหมู่ 9 ลงห้วยน้ำพุง
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
1. สระประมงโป่งทอง บ้านโป่ง พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 5 ไร่
2. อ่างเก็บน้ำห้วยซะนาแป บ้านน้ำพุง พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 2 ไร่
3. อ่างเก็บน้ำห้วยปากแบ่ง บ้านกกจำปา พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 15 ไร่
4. หนองประมงห้วยทุ่งเทิง บ้านทุ่งเทิง พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 10 ไร่
5. ฝายห้วยเทา บ้านทุ่งเทิง พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 1 ไร่
6. ฝายห้วยน้ำมี บ้านวังกุ่ม พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 2 ไร่
7. สระน้ำห้วยตูบด่าน บ้านวังกุ่ม พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 2 ไร่
8. หนองประมงทุ่งน้ำใส บ้านทุ่งน้ำใส พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 5 ไร่
9. ฝายห้วยน้ำใสเหนือ บ้านทุ่งน้ำใส พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 2 ไร่
10. ฝายห้วยก๊วก บ้านทุ่งน้ำใส พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 10 ไร่
11. หนองประมงวัดดงชุมพร บ้านปางคอม พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 4 ไร่
12. หนองประมงห้วยม่วง บ้านโป่งชี พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 7 ไร่
13. สระน้ำโป่งชี บ้านโป่งชี พื้นที่เก็บน้ำประมาณ 1 ไร่
5. ข้อมูลอื่น ๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ป่าไม้เบญจพรรณตามแนวที่ราบสูงและภูเขา
5.2 มวลชนจัดตั้งขึ้น
ลูกเสือชาวบ้าน 4 รุ่น จำนวน 600 คน
ไทยอาสาป้องกันชาติ 2 รุ่น จำนวน 200 คน
กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 18 คน
คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน จำนวน 161 คน
อาสาสมัคร
อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน จำนวน 155 คน
อาสารักษาความสงบประจำหมู่บ้าน 2 ชุด จำนวน 30 คน
สมาชิกอามาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 130 คน
อาสมัครปกป้องสถาบัน (อสป.) จำนวน 110 คน
หน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น อบต.โป่ง จำนวน 11 คน
ชมรมผู้สูงอายุตำบลโป่ง จำนวน 723 คน
6. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
6.1 ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 4 คน
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี - คน
อนุปริญญา - คน มัธยมศึกษา 4 คน
ประถมศึกษา - คน
6.2 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 21 คน
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี 1 คน
อนุปริญญา - คน มัธยมศึกษา 13 คน
ประถมศึกษา 7 คน
6.3 พนักงาน
พนักงานส่วนตำบล/พนักงานจ้าง จำนวน 42 คน